ศิลปะและสถาปัตยกรรมโบราณในเอเชียนตะวันออกเฉียงใต้



วันอาทิตย์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2560

อโรคยาศาลา หรือโรงพยบาล

อโรคยาศาลา
ประวัติความเป็นมา  คือพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แห่งอาณจักรเขมรโบราณ ได้โปรดฯ ให้สร้าง อโรคยาศาลา หรือเรียกว่าสถานพยาบาล ได้ถูกสร้างขึ้นเป็นจำนวนมากขึ้นทั่วแคว้น เพราะถือว่าเป็นพระราชกรณียกิจสำคัญของพระองค์ ในฐานะที่ประองค์เปรียบเสมือนเป็นพระโพธิ์สัตว์ ที่จะต้องบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้แก่ประชาชน จารึกที่พบส่วนมากในอโรคยศาลา มักกล่าวไว้ว่าพระองศ์โปรดฯมีการประดิษฐานพระไภษัชยคุรุไวฑูรยะ และพระสาวกอีกสององค์ คือ พระศรีสูรยฯ และ พระศรีจันทรฯ

ที่มา http://oknation.nationtv.tv/blog/nn1234/2011/03/20/entry-1

อโรคยา แปลว่าที่ปลอดโรค หรือเหมือนสุขศาลาในอดีต ที่มีความหมายว่า โรงพยาบาลที่รักษาโรคภัยไข้เจ็บของคนในสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่เจ็ด แห่งราชวงศ์หิธรปะ ซึ่งปรากฏอยู่ทั่วพระราชอาณาจักรของพระองค์ โดยมีทั้งหมด 102  แห่งทั่วอาณาจักร ทุกๆที่ให้มีระยะห่างกันชั่วเดินทางได้ภายในหนึ่งวัน หรือประมาณ 12-15 กิโลเมตร
ลักษณะเด่น คือเป็นโครงสร้างที่สร้างด้วยศิลาแลงเป็นหลัก แม้จะมีขนาดของอโรคยาสาลาที่แตกต่างกัน แต่มีแผนผังและองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมที่เหมือนกันคือ ปรางค์ประธาน  กำแพงแก้ว ซุ้มโคปุระ บรรณาลัย และบารายขนาดเล็ก
      
                                 ที่มา http://isan.tiewrussia.com/khom/arokaya/
อ้างอิง
สุริยวุฒิ สุขสวัสดิ์(ม.ร.ว.),ปราสาทพนมรุ้ง,พิมพ์ครั้งที่ ๔, สำนักพิมพ์มติชน, กรุงเทพฯ, ๒๕๓๙
- ทรงสมัย สุทธิธรรม.(2560).อโรคยาศาลา.(ออนไลน์).แหล่งที่มา http://isan.tiewrussia.com/khom/arokaya/.13 ตุลาคม.2560.

บ้านมีไฟ หรือ ธรรมศาลา (ที่พักคนเดินทาง)

บ้านมีไฟ หรือ ธรรมศาลา
                                                  ธรรมศาลา ปราสาทตาเมือน
          เป็นสิ่งก่อสร้างที่กล่าวถึงในจารึกปราสาทพระขรรค์ ประเทศกัมพูชา เชื่อกันว่าเป็นจุดที่พักคนเดินทาง ปัจจุบันเหลือร่องรอยเพียงอาคารที่มีลักษณะเป็นอาคารเดี่ยว หันหน้าไปทางทิศตะวันออก สร้างด้วยศิลาแลงหรือหินทราย ส่วนหน้าเป็นห้องรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีหน้าต่างด้านเดียวทางด้านทิศใต้ ส่วนในเป็นห้องมีหลังคาเป็นชั้นตามลักษณะของปราสาทเขมร 
          ที่พักคนเดินทางคงสร้างด้วยไม้ แต่มีตัวปราสาทสร้างด้วยสิลาแลง ตั้งอยู่เป็นที่สังเกต คือมีปราสาทประดิษฐานรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ซึ่งทรงเป็นที่พึ่งของผู้เดินทางอยู่ทางทิศตะวันตก ปราสาทแบบนี้มุขค่อนข้างยาวออกไปทางทิศตะวันออก มีหน้าต่างหลายบานเฉพาะผนังทางทิศใต้ของมุข อาคารศิลาแลงแห่งนี้บางครั้งก็แสดงให้เห็นว่านำแท่งศิลาเก่ามาใช้ในการก่อสร้างใหม่ เพราะยังคงมีลวดลายเก่าสลักอยู่ และบางครั้งก็มีรูปพระพุทธรูปปางสมาธินั่งอยู่ในซุ้มหลายองค์ตั้งอยู่บนยอดหลังคาของมุขที่ยื่นออกมาทางด้านทิศตะวันออก
                                         ที่มา http://52011120009.blogspot.com/2012/05/blog-post_22.html
อ้างอิง
- (4) (5) Coedes, George. ทรงแปลโดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล. ที่พักคนเดินทางของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7.” ศิลปวัฒนธรรม 16, 2 (ธ.ค. 2537) : 104-106.
สำนักโบราณคดี กรมศิลปากร. ศัพทานุกรมโบราณคดี. กรุงเทพฯ: สำนักโบราณคดี กรมศิลปากร, 2550.
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).(2560).บ้านมีไฟ.(ออนไลน).แหล่งที่มา  www.sac.or.th/databases/archaeology/terminology/บ้านมีไฟ

วันเสาร์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2560

นางอัปสร โฉมงามแห่งสรวงสวรรค์

นางอัปสร หรืออัปสรา
นางอัปสร อยู่ที่ปราสาทบรายน
   นางอัปสรา หรือ นางอัปสร หินสลักศิลปะนูนต่ำ ที่อยู่รอบๆมหาปราสาทโบราณๆแห่งที่เป็นศาสนสถานแห่งศาสนาพราหมณ์ ฮินดู เช่น นครวัด ปราสาทบายน ปราสาทหินพนมรุ้ง ฯลฯ อัปสร เป็นภาษาสันสกฤต ซึ่ง อัป หมายถึง น้ำ และ สร หมายถึง การเคลื่อนไป ดังนั้นอัปสร จึงหมายถึง ผู้ที่เคลื่อนไปในน้ำ ซึ้งเป็นต้นกำเนิดของพวกนาง

                                   ที่มา : https://www.indochinaexplorer.com/forum/index.php?topic=1823.0
         จากคัมภีร์ รามายณะ กล่าวว่ากำเนิดในสมัยพระนารายณ์ ปางที่ 2 (กูรมาวตาร แห่งกฤตยุค) พวกเทวดาและอสูร ต่างมีบุญจำกัดเวลา ทุกตนอยากที่จะมีชีวิตเป็นอมตะอยู่ค้ำฟ้า จึงตกลงกันช่วยกันกวนเกษียรสมุทร ทำน้ำอมฤตเพื่อกินแล้วจะไม่มีวันตาย พิธีกวนน้ำอมฤต เริ่มด้วยการเอาภูเขามันทคีรี (อยู่ใกล้เขาพระสุเมรุ) เป็นไม้กวน เอาพญาวาสุกรี (พญานาค) เป็นเชือกมัด พวกเทวดาเลือกชักทางหางนาค ให้พวกอสูรชักหัวนาคพระนารายณ์รับสองหน้าที่ หน้าที่แรก อวตารเป็นเต่าทองเอาหลังรองเขามันทคีรี หน้าที่ที่สองเป็นพระนารายณ์สี่กรถือคทา จักร สังข์ และดอกบัวสถิตอยู่บนยอดเขา เปล่งรัศมีโชติช่วงให้ทั้งแสงสว่าง และปัดเป่าลมฝนไม่ให้มาสัมผัสเทวดาอสูรกระบวนการ กวนนี้ดำเนินไปจนทะเลนม (เกษียรสมุทร)งวดจนเป็นโคลนตม ในที่สุดก็เกิดแสงสว่างพวยพุ่งมีดอกบัวโผล่ออกมา องค์พระลักษมีประทับนั่งอยู่เหนือดอกบัวพร้อมกันนั้น ก็เกิดนางอัปสรสวรรค์จำนวนมากถึง 60 โกฏิทุกนางอัปสรสวยสดงดงาม แต่เมื่อยกให้ใคร ทั้งฝ่ายเทวดาฝ่ายอสูรต่างก็ไม่ยอมรับ ฐานะของนางอัปสรจึงกลายเป็นของกลาง ไม่มีสามี แต่มีหน้าที่บำเรอเทวดาและอสูรทั่วไป 

อ้างอิง
- ไทยรัฐออนไลน์.(2560).ตำนานนางฟ้า.(ออนไลน์).แหล่งที่มา https://www.thairath.co.th/content/31066.13 ตุลาคม 2560
- อาจารย์สิงขร เครือแดง .(2560).นางอัปสร หรือ นางอัปสรา.(ออนไลน).แหล่งที่มา https://www.indochinaexplorer.com/forum/index.php?topic=1823.0.13 ตุลาคม 2560.





วันพฤหัสบดีที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2560

ข้อมูลเกี่ยวกับทับหลัง

ทับหลัง

 

ที่มา : http://www.museumthailand.com/topic.php?p=144

ทับหลัง คือศิลปะขะแมร์แต่โบราณ หมายถึงหินรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่วางไว้ หรือ ทับไว้เหนือซุ้มประตูทางเข้าเทวสถานหรือปราสาท มักเป็นที่รองรับและถ่ายน้ำหนักส่วนบนของอาคาร “หน้าบัน” หรือหินรูปสามเหลี่ยม ที่ศิลปะไทยเรียก “หน้าจั่ว” ไว้อีกชั้นหนึ่ง และทับหลังยังมีการแกะสลักเรื่องราวและลวดลายไว้แทบทุกตารางนิ้วของทับหลัง โดยมีภาพ “ศิวนาฏราช เหนือหน้ากาล” (หรือเกียรติมุข) เป็นจุดเด่นนั้นเป็น "ทับหลังประดับ" ติดตั้งอยู่หน้าทับหลังจริง ส่วนมากมักทำมาจากหินทรายที่ง่ายต่อการแกะสลัก

เช่น ภาพทับหลังพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ ปราสาทบ้านพลวง ศิลปะแบบบาปวน พุทธศตวรรษที่ ๑๖-๑๗
พระอินทร์เป็นเทพผู้ปกครองเหล่าเทวดาบนสวรรค์

                       ที่มา http://oknation.nationtv.tv/blog/Walk2/2008/12/18/entry-1

ภาพทับหลังพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ ปราสาทเมืองแขก ศิลปะขอมแบบเกาะแกร์-แปรรูป 
พุทธศตวรรษที่ ๑๕    พระอินทร์ทรงเป็นเทพประจำทิศตะวันออก จึงพบทับหลังทางทิศตะวันออกของปราสาทหินบางแห่งเป็นภาพเทพองค์นี้
ที่มา : http://oknation.nationtv.tv/blog/home/blog_data/755/22755/images/tublang/12_14_7.jpg

อ้างอิง
Walkaway.2560.ทับหลังและหน้าบัน ในประเทศไทย.(ออนไลน์).
แหล่งที่มา:http://oknation.nationtv.tv/blog/Walk2/2008/12/18/entry-1
Museum Thailand.2560.ทับหลัง.(ออนไลน์).แหล่งที่มา:http://www.museumthailand.com/topic.php?p=144





วันจันทร์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2560

หน้ากาล หรือ เกียรติมุข


หน้ากาล หรือเกียรติมุข

                       ที่มา. http://www.hindumeeting.com/forum/index.php?topic=4927.0
➟ประวัติ   หน้ากาล หรือเกียรติมุข หมายถึง สัตว์ที่มีอยู่ในเทพนิยาย และยังแสดงถึงกาลเวลา เป็นลวดลายปูนปั้นที่ใช้ประดับซุ้มหน้าบันของโบราณสถาน โดยทั่วไปมักทำคู่กับลายมกร โดยทำลายมกรออกมาทั้งสองข้างของเกียรติมุข ลักษณะของเกียรติมุขจะทำเป็นรูปหน้ายักษ์ปนหน้าสิงห์ หรือใบหน้าของอสูรที่ดุร้าย คิ้วขมวม นัยน์ตากลม และถลน ปากกล้างจนเห็นฟันและเขี้ยว ไม่มีฟันล่าง ไม่มีลำตัว มีแขนงอกออกมาจากด้านข้างของศีรษะ 

➟คติความเชื่อเกี่บวกับเกียรติมุข  ได้รับความนิยมอย่างมากในอินเดีย กำเนิดขึ้นมาจากศาสนาพราหมณ์หรือฮินดู ซึ่งนับถือพระศิวะหรือพระอิศวรซึ่งเป็นเป็นเทพสูงสุดในศาสนานี้ พร้อมทั้งใช้เป็นสิ่งประดับตามเทวสถานและพุทธสถาน เพื่อแสดงความเป็นเกียรติและเพื่อความเป็นศิริมงคล และขจัดสิ่งชั่วร้ายต่างๆ มิให้เข้ามาสู้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ภายในเทวสถานและพุทธสถาานได้

➟ที่มาของเกียรติมุข  เข้าใจว่ามาจากอินเดียก่อน บางท่านกล่าวว่ามีการกำเนิดในประเทศใดประเทศหนึ่งในทวีปเอเชียอาจจะได้มาจากประเทศธิเบต บางท่านก็ว่ากำเนิดมาจากประเทศจีน เพราะมีรูปแบบซึ้งเรียกว่า เต้าเจ้ ซึ่งปรากฎอยู่บนภาชนะสำริดของจีน สมัยช่วง 850-880 ปีก่อนพุทกาล เป็นทำนองกับเกียรติมุขของอินเดีย หมายถึงเทพเจ้าผู้ตะกละ จากนั้นก็ได้มีการเผยแพร่ทางบกไปยังประเทศอินเดีย และปรากฎอยู่ในศิลปะอินเดียสมัยอมราวดีและคุปตะ



                                ที่มา.http://board3.trekkingthai.com/board/show.php?               forum_id=2&topic_no=2434&topic_id=2434

➟อ้างอิง
1. กาลิทัส.2560.หน้ากาล.(ออนไลน์).แหล่งที่มา:http://www.hindumeeting.com/forum/index.php?topic=4927.0.10 ตุลาคม.2560.
2. ninenic.2560.หน้ากาฬ หรือ เกีนรติมุข.(ออนไลน์).
แหล่งที่มา:http://www.dhamma5minutes.com/webboard.php?id=27&wpid=0037.10 ตุลาคม 2560.
3.









วันอาทิตย์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2560

พระวิษณุ สี่กร


พระวิษณุ



                     พระวิษณุสวมหมวกทรงกระบอก พิพิธภัณฑสถานแห่งนครศรีธรรมราช
              ที่มา.http://www.archae.su.ac.th/art_in_south/index.php/collections/nakaornsrithammarat/item/52-museum-nakorn-a012.html

รูปแบบศิลปะ

        พระวิษณุองค์นี้มีเค้าโครงคล้ายคลึงกับพระวิษณุในศิลปะปัลลวะตอนต้นของอินเดียใต้ กล่าวคือสวมหมวกทรงกระบอกเรียบและนุ่งโธตียาวเรียบ ไม่มีเครื่องตกแต่ง โดยลักษณะดังกล่าวปรากฏเช่นกันกับพระวิษณุจำนวนมากที่ค้นพบในจังหวัดสุราษฏร์ธานีและจังหวัดปราจีนบุรี ในประเทศไทย ประติมากรมักกำหนดให้ใช้คทาและชายผ้าคาดเป็นเครื่องค้ำยัน เพื่อไม่ให้ประติมากรรมพระวิษณุทรุดโทรมง่ายและเพื่อความแข็งแรงของรูปปั่้น

ความหมาย

        พระวิษณุเป็นผู้ดูแลโลกและพระเป็นเจ้าสูงสุดในลัทธิไวษณพนิกาย ทรงถือของสี่ประการ คือ จักร สังข์ คทาและธรณี โดยของถือแต่ละประการล้วนแต่แสดงคุณสมบัติและความยิ่งใหญ่ของพระองค์ในทุกๆด้าน เช่น ทรงถือจักรอันเป็นสัญลักษณ์ของพระสูรยะนั้น ก็เนื่องด้วยทรงเป็นเจ้าแห่งแสงสว่างที่แผ่ซ่านไปทุกทิศ เป็นต้น ประติมากรรมชิ้นนี้ พระวิษณุทรงถือจักร (และสังข์) ที่พระหัตถ์คู่หลัง ส่วนพระหัตถ์คู่หน้าถือธรณีและคทา อันเป็นลักษณะของศิลปะปัลลวะในศิลปะอินเดียใต้ ซึ่งตอบรับกับรูปแบบศิลปะ



อ้างอิง

1.คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร.2560.พระวิษณุสวมหมวกทรงกระบอก พิพิธภัณฑสถานแห่งนครศรีธรรมราช.(ออนไลน์).แหล่งที่มา 
:http://www.archae.su.ac.th/art_in_south/index.php/collections/nakaornsrithammarat/item/52-museum-nakorn-a012.html.08 ตุลาคม 2560. 






พระราชวังบางประอินกับความงามหลากสไตล์

 พระราชวังบางปะอิน               ที่มารูป :  http://travel.trueid.net พระราชวังบางปะอินกับความงามหลากศิลป์หลากสไตล์ ที่ให้นักท่...