ธรรมศาลา ปราสาทตาเมือน
เป็นสิ่งก่อสร้างที่กล่าวถึงในจารึกปราสาทพระขรรค์
ประเทศกัมพูชา เชื่อกันว่าเป็นจุดที่พักคนเดินทาง
ปัจจุบันเหลือร่องรอยเพียงอาคารที่มีลักษณะเป็นอาคารเดี่ยว
หันหน้าไปทางทิศตะวันออก สร้างด้วยศิลาแลงหรือหินทราย
ส่วนหน้าเป็นห้องรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีหน้าต่างด้านเดียวทางด้านทิศใต้
ส่วนในเป็นห้องมีหลังคาเป็นชั้นตามลักษณะของปราสาทเขมร
ที่พักคนเดินทางคงสร้างด้วยไม้
แต่มีตัวปราสาทสร้างด้วยสิลาแลง ตั้งอยู่เป็นที่สังเกต
คือมีปราสาทประดิษฐานรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร
ซึ่งทรงเป็นที่พึ่งของผู้เดินทางอยู่ทางทิศตะวันตก
ปราสาทแบบนี้มุขค่อนข้างยาวออกไปทางทิศตะวันออก
มีหน้าต่างหลายบานเฉพาะผนังทางทิศใต้ของมุข
อาคารศิลาแลงแห่งนี้บางครั้งก็แสดงให้เห็นว่านำแท่งศิลาเก่ามาใช้ในการก่อสร้างใหม่
เพราะยังคงมีลวดลายเก่าสลักอยู่
และบางครั้งก็มีรูปพระพุทธรูปปางสมาธินั่งอยู่ในซุ้มหลายองค์ตั้งอยู่บนยอดหลังคาของมุขที่ยื่นออกมาทางด้านทิศตะวันออก
ที่มา http://52011120009.blogspot.com/2012/05/blog-post_22.html
อ้างอิง
- (4) (5) Coedes, George. ทรงแปลโดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล. “ที่พักคนเดินทางของพระเจ้าชัยวรมันที่
7.” ศิลปวัฒนธรรม 16, 2 (ธ.ค.
2537) : 104-106.
- สำนักโบราณคดี กรมศิลปากร. ศัพทานุกรมโบราณคดี. กรุงเทพฯ:
สำนักโบราณคดี กรมศิลปากร, 2550.
- ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
(องค์การมหาชน).(2560).บ้านมีไฟ.(ออนไลน).แหล่งที่มา www.sac.or.th/databases/archaeology/terminology/บ้านมีไฟ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น